การตั้งค่าพื้นฐาน ระบบร้านค้าออนไลน์บน Woocommerce

1. เมนูทั่วไป

ขั้นตอนที่ 1 การตั้งค่าพื้นฐาน ระบบร้านค้าออนไลน์ของ Woocommerce เข้าไปที่ระบบ Admin เลือกเมนู  Woocommerce> การตั้งค่า> ทั่วไป   จากนั้นเริ่มต้นด้วยการเซตการ ตั้งค่าทั่วไป (General options) ในหน้านี้ โซนแรกจะเป็นที่อยู่สถานที่ตั้งของทางร้านผู้ขายสินค้า  Store Address ช่องแรก  Address Line 1 :  ใส่ที่อยู่ ที่ตั้งร้านค้าของเรา (ถ้ามีที่อยู่ร้านเดียวช่อง Address Line2 ข้ามได้เลย)  ตามด้วยช่องอื่นๆใส่รายละเอียดให้ครบ

ขั้นตอนที่ 2  ตัวเลือกทั่วไป ตรงส่วนนนี้เซตไม่ยาก ตัวอย่างเราเซตเป็นใน ไทย ทั้งหมด (หากขายต่างประเทศด้วย ให้ค่าเซตเป็นขายทุกประเทศ)  ภาษีจะติ๊กก็ได้ ไม่ติ๊กก็ได้ ส่วนมากไม่ติ๊กกันเพราะภาษีรวมในตัวสินค้าแล้ว

ขั้นตอนที่ 3 ต่อไปมาดูในส่วน ตัวเลือกสกุลเงิน ในส่วนนนี้เซตตามเราได้เลย ถ้าขายแต่ในไทยเซตเป็น ฿ บาท แต่ถ้าต่างประเทศ เลือกที่เป็นสกุลเงินสากลนิยมใช้กัน เช่น  ดอลล่าร์สหรัฐ ($) นั่นเอง

ตัวอย่าง

  • สกุลเงิน :  บาทไทย (฿)
  • ตำแหน่งของสกุลเงิน :  แนะนำว่าให้เลือกเป็น ซ้าย  ตัวอย่างแสดงผล คือ  (฿99.99)
  • เครื่องหมายคั่นหลักพัน : ใส่เป็น ตัวอย่างแสดงผลคือ  (฿1,000)
  • สัญลักษณ์คั่นทศนิยม : ใส่เป็น . จุดทศนิยม  ตัวอย่างแสดงผลคือ  (฿1,0000.00)
  • จำนวนทศนิยม : ให้เราใส่เป็น 0 คือไม่มีทศนิยม ตัวอย่างแสดงผล คือ (฿1,000)
    #แต่ถ้าต้องการมีทศนิยมให้ใส่เป็นเลข 2 คือ ทศนิยม 2 ตำแหน่งนั่นเอง ตัวอย่างแสดงผล คือ   (฿1,0000.00)

เซต 3 ขั้นตอนนี้ครบ เรียบร้อยแล้วกดปุ่ม  บันทึกการเปลี่ยนแปลง ด้านล่างสุดได้เลย  จบในส่วนเมนูแรก คือ ตั้งค่าทั่วไป

 


2. เมนูสินค้า

2.1 ในโซนเมนูสินค้านั้น หลังเราเซตแล้ว จะแสดงผลที่หน้ารายละเอียดสินค้า บนหน้าเว็บไซต์นั่นเอง

  • ในช่องที่ 1 การวัดผล คือ น้ำหนักของตัวสินค้า เซตตามตัวอย่างได้เลย เป็น  กก. และ เซนติเมตร
  • ในช่องที่ 2 รีวิว คือ การแสดงผลคอมเมนต์ว่าจะให้แสดงผลหรือไม่ รวมถึงการให้คะแนนสินค้า ด้วยค่ะ

เรียบร้อยแล้วกดปุ่ม  บันทึกการเปลี่ยนแปลง ด้านล่างสุดได้เลย


 

2.2 ยังอยู่ที่หน้าสินค้าอยู่นะคะ จากนั้นให้เลือกแถบล่างต่อไป  การแสดงผล

ในกรอบที่ 1 ตำแหน่ง  การแสดงผล ซึ่งเป็น Option ในหน้าแสดงสินค้า (Catalog Page) แนะนำให้เราเลือกเป็น เรียงลำดับตามล่าสุด หมายความว่าเราได้กำหนดการเรียงสินค้า โดยให้สินค้าใหม่อยู่ตำแหน่งแรกสุดในหน้าแสดงสินค้านั่นเอง อื่นๆในช่องที่หนึ่งใส่ตามเราได้เลย

ในกรอบที่ 2 เป็นการแสดงรูปภาพสินค้า ต้องการให้แสดงผลแบบไหน เซตตัวเลขเข้าไปตามต้องการเลย  ตัวอย่าง

  • รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส เช่น  300×300, 600×600, 180×180
  • รูปสีเหลี่ยมผืนผ้า เช่น 247×300, 510×600, 114×130

เรียบร้อยแล้วกดปุ่ม  บันทึกการเปลี่ยนแปลง ด้านล่างสุดได้เลย


 

2.3 ยังอยู่ที่หน้าสินค้าอยู่นะคะ จากนั้นให้เลือกแถบล่างต่อไป
สินค้าคงคลัง คือ การกำหนดปริมาณสินค้าตรงนี้เซตไม่ยาก เลือกดูตามหัวข้อแต่ละช่องได้เลย



และเมนูสุดท้ายในหน้าสินค้านี้
รายชื่อสินค้าดาวน์โหลด ตรงนี้จะเหมาะสำหรับลูกค้าที่ขายไฟล์กราฟฟิก หรืออื่นๆ ที่มีให้ดาวน์โหลดนะคะ จะไม่พูดถึงขอข้ามเลย

เรียบร้อยแล้วกดปุ่ม  บันทึกการเปลี่ยนแปลง ด้านล่างสุดได้เลยทุกครั้งที่ทำการเปลี่ยนแปลง


3. เมนูการจัดส่ง 

ตรงส่วนนี้จะละเอียดพอสมควร เพราะมีการเซตค่าไว้ได้หลากหลาย ให้คลิกเลือกดูตามหัวข้อที่ทำไว้แล้ว เพื่อศึกษาได้เลยค่ะ

  1. การตั้งค่าจัดส่งสินค้า อัตราคงที่ตามเขตจัดส่งสินค้า
  2. การตั้งค่าจัดส่งสินค้า แบบลงทะเบียน และแบบ EMS
  3. การตั้งค่าจัดส่งสินค้า แบบส่งฟรีเมื่อซื้อตามยอดที่กำหนด
  4. การตั้งค่าจัดส่งสินค้า แบบคิดค่าจัดส่งต่อจำนวนชิ้น
  5. การตั้งค่าจัดส่งสินค้า แบบคิดค่าจัดส่งเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย

4. เมนูการสั่งซื้อและชำระเงิน

ตั้งค่าการ สั่งซื้อและชำระเงิน Checkout เราจะแยกเป็นส่วนๆเพื่ออธิบายให้เข้าใจ
ส่วนที่ 1 คู่ปอง ตรงส่วนนี้เมื่อทางร้านจัดกิจกรรมส่วนลด สามารถเปิดใช้งานคูปองการใช้งานได้ค่ะ

ส่วนที่ 2 กระบวนการสั่งซื้อและชำระเงิน  สำหรับการตั้งค่าพื้นฐานนี้ ในส่วนของ Checkout หากเราต้องการให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อได้ทันที แม้ว่าจะยังไม่ได้เป็นสมาชิก ก็สามารถทำได้โดยการติ๊กที่ช่อง  สามารถสั่งซื้อได้โดยไม่ได้เป็นสมาชิก (ตามตัวอย่างภาพข้อ 2 สีน้ำเงิน)

ส่วนที่ 3 หน้าการสั่งซื้อและชำระเงิน สำหรับส่วนนี้ปล่อยไว้อย่างเดิม แต่ให้สังเกตตรงช่อง  ข้อตกและเงื่อนไข กรณีทางร้านค้าต้องการทำเงื่อนไขการสั่งซื้อเพิ่มเติม ให้สร้างหน้าสำหรับเงื่อนขึ้นมาและเลือกหน้านั้นๆตรงช่อง  ข้อตกและเงื่อนไข  ข้อนี้หากไม่เข้าใจสอบถามทางทีมงานได้ค่ะ

เรียบร้อยแล้วกดปุ่ม  บันทึกการเปลี่ยนแปลง ด้านล่างสุดได้เลยทุกครั้งที่ทำการเปลี่ยนแปลง (ส่วนที่เหลือ จุดสุดท้ายของการชำระเงิน, ผู้ให้บริการด้านการชำระเงิน ปล่อยไว้แบบเดิมค่ะ)

 

4.1 ยังอยู่ในหน้าสั่งซื้อและชำระเงิน เลือกแถมเมนูล่าง> โอนเงินเข้าบัญชี 

ตั้งค่าการโอนเงินผ่านธนาคาร (BACS) มีส่วนที่ต้องใส่ข้อมูลมีประมาณนี้ค่ะ

  • หัวเรื่อง : เราจะเปลี่ยนภาษาเป็นไทย หรือ อังกฤษก็ได้ เช่น โอนเงินผ่านธนาคาร
  • รายละเอียด :  คือ ข้อความตรงจุดนี้จะขึ้นในหน้าสั่งซื้อสินค้า (Checkout) และจะแสดงในอีเมลของลูกค้าเราอีกด้วยค่ะ
  • ขั้นตอน :  ในส่วนนี้จะแสดงผลเหมือนช่อง รายละเอียด ถ้าจะเอาง่ายๆเลย เราก็ใส่ทั้งสองช่องเป็นข้อความชุดเดียวกันไปเลยค่ะ

จากนั้นกดปุ่ม  บันทึกการเปลี่ยนแปลง

ต่อไปช่อง  รายละเอียดบัญชี  ในช่องนี้รายละเอียดธนาคารของทางร้านค้าได้เลยค่ะ  โดยการกดปุ่ม เพิ่มบัญชี  ใส่รายละเอียดครบแล้ว กดปุ่ม บันทึกการเปลี่ยนแปลง 

**ส่วนนี้ถ้ากรอกข้อมูลบัญชีชำระเงิน จะไปแสดงผลที่หน้า ฟอร์มแจ้งโอนเงินด้วยค่ะ

 


5. เมนูบัญชี

ในส่วนบัญชีนี้จะเป็นการแสดงผล อนุญาติให้แสดงหรือไม่แสดงก็ได้ เลือกติ๊กตามหัวข้อ  (แนะนำคงไว้แบบเดิม แบบตัวอย่งในรูป) ส่วนอื่นๆคงไว้แบบเดิมในหน้านี้  ข้ามไปดูเมนู E-Mail ต่อไปได้เลยค่ะ

 


6. เมนู E-Mail

ตั้งค่า Email ค่าพื้นฐานที่เราควรใส่ให้เรียบร้อยมีดังนี้

  • From “จาก” ชื่อ : ให้เราใส่ชื่อร้านค้าเราลงไป
  • From “จาก” ที่อยู่ : ใส่ชื่ออีเมลร้านค้าของเรา
  • Footer text: ใส่ท้ายจดหมายอาจจะใส่ ชื่อร้านค้า ที่อยู่ หรือเบอร์โทรก็ได้ หรือ ชื่อเว็บก็ได้

ส่วนอื่นๆศึกษาทดสอบได้เลยค่ะ

ตัวอย่าง From เมลทีระบบส่งเข้าเมลทางร้านค้า และเมลลูกค้าค่ะ

จบการตั้งค่าพื้นฐาน ระบบร้านค้าออนไลน์บน Woocommerce ค่ะ
เขียนบทความโดย
Web Design 108 Group Co.,Ltd

,
Next Post
การลงสินค้าประเภทต่างๆ ร้านค้าออนไลน์บน woocommerce
Previous Post
การตั้งค่าจัดส่งสินค้า แบบคิดค่าจัดส่งเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย

Related Posts

Menu